ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ประวัติวัดศาลาแดง
dot
bulletประวัติวัดศาลาแดง
bulletสังฆสถานที่สำคัญ
dot
ประวัติเจ้าอาวาส
dot
bulletพระพิพัฒน์วิริยาภรณ์
bulletพระครูสุนทรพิพัฒนโกศล (เดิม)
bulletพระครูวิหารกิจจารักษ์
bulletพระอธิการขำ
bulletพระอธิการลม
bulletพระอธิการเหมือน
dot
ประวัติอุโบสถหลังใหม่
dot
bulletประวัติอุโบสถหลังใหม่
bulletแกเลอลี่ ภาพสำคัญ
dot
ประวัติอุโบสถหลังเก่า
dot
bulletประวัติอุโบสถหลังเก่า
dot
สถานที่สำคัญภายในวัด
dot
bulletรอยพระพุทธบาทจำลอง
bulletหอสวดมนต์,หอฉัน
bulletศาลาการเปรียญ
bulletศาลาบูชาพระประจำวัน
bulletศาลาบูรพาจารย์
bulletโรงเรียนพระปริยัติธรรม
bulletวังมัจฉา
dot
ประมวลภาพกิจกรรม
dot
bulletกิจกรรมวันอาสาฬหบูชา
bulletกิจกรรมอบรมธรรมศึกษา
bulletงานปฏิบัติธรรมบวชชีพราหมณ์
bulletกิจกรรมเวียนเทียนรอบอุโบสถวันอาสาฬหบูชา๕๔
dot
ประมวลภาพเหตุการณ์สำคัญ
dot
bulletพระพุทธชนราช ใต้ร่มเศวตฉัตร
bulletการสวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖
bulletการสวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๕
bulletภาพวีดีโอน้ำท่วมวัด ปี 54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 27/10/54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 29/10/54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 30/10/54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 31/10/54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 01/11/54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 02/11/54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 03/11/54
bulletเหตุการณ์เมื่อ 6/6/2552


ปังสุกูลิกธุดงค์
วันที่ 05/04/2012   20:27:06

๑. ปังสุกูลิกธุดงค์   ขอขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ค้นหาได้จาก google


     ผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งเกลือกกลั้วกับฝุ่น (ต้องเรียกว่า ผ้าบังสุกุล ไม่ใช่ ผ้าบังสกุล) ผ้าทีนับว่าเป็นผ้าบังสุกุลนั้นมี ๒๓ ชนิด คือ
      ๑. ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
      ๒. ผ้าที่เขาทิ้งตามประตูร้านค้า
      ๓. ผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามตรอง
      ๔. ผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามกองขยะ
      ๕. ผ้าที่หญิงเช็ดมลทิลครรภ์แล้วทิ้ง
      ๖. ผ้าที่เขาผลัดอาบน้ำแล้วทิ้ง
      ๗. ผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามท่าอาบน้ำ
      ๘. ผ้าที่เขานุ่งไปป่าช้ากลับมาแล้วทิ้ง
      ๙. ผ้าที่เขาทิ้งเพราะมีรอยโคกัด
     ๑๐. ผ้าที่เขาทิ้งเพราะมีรอยไฟไหม้
     ๑๑. ผ้าที่เขาทิ้งเพราะมีรอยปลวกกัด
     ๑๒. ผ้าที่เขาทิ้งเพราะมีรอยหนูนากัด
     ๑๓. ผ้าที่เขาทิ้งเพราะมีรอยขาดที่ริม
     ๑๔. ผ้าที่เขาทิ้งเพราะรอยขาดที่ชาย
     ๑๕. ผ้าที่เขาชักขึ้นเป็นธงไว้ที่สนามรบ เมื่อเลิกรบแล้วเขาทิ้งไว้
     ๑๖. ผ้าที่เขาห่มจอมปลวกบูชาไว้
     ๑๗. ผ้าที่พระด้วยกันถวาย
     ๑๘. ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในที่อภิเษก
     ๑๙. ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์
     ๒๐. ผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามถนนหนทาง
     ๒๑. ผ้าที่ลมพัดมา
     ๒๒. ผ้าที่เทวดาถวาย
     ๒๓. ผ้าที่น้ำทะเลซัดขึ้นฝัง

     ภิกษุ เมื่อได้ผ้าชนิดใดชนิดหนึ่งดังกล่าว นำมาตัดที่เสียหายทิ้ง ซัก ตัด เย็บ และย้อม ผลัดเปลียนจีวรเก่าออกแล้วตั้งใจสมาทานธุดงค์ของผู้ถือการใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

     มีเกล็ดความรู้เรื่องปังสุกูลิกธุดงค์นี้ จึงขอนำมาเล่าแทรกไว้ ดังนี้ ผู้เขียนคิดเองว่า คงมีชาวพุทธเราอีกจำนวนมากที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องบังสุกุลจีวรเช่น เรื่องทอดผ้าป่า ทอดผ้าบังสุกุลศพ เรื่องทั้งสองนี้เกี่ยวกับธุดงค์ข้อนี้ การทอดผ้าป่าก็ดี การทอดผ้าบังสุกุลก็ดี เดิมนั้นผู้มีศรัทธาต้องการจะถวายผ้าจีวรแก่พระที่ถือบังสุกูลิกธุดงค์ จึงนำผ้าที่จะทำเป็นจีวรหรือจีวรสำเร็จรูปไปวางหมกไว้ตามกองขยะบ้างทิ้งไว้ตามป่าช้าบ้าง หรือมีญาติพี่น้องเสียชีวิตก็จะนำผ้าเนื้อดีมาห่อศพ คลุมศพ นำศพไปทิ้งตามป่าช้า เพื่อให้พระที่รักษาธุดงค์ข้อนี้ เมื่อแสดงหาผ้ามาพบเข้าก็จะเก็บไปทำจีวรนุ่งหุ่ม เพราะตามหลักแล้วพระที่รักษาปังสุกูลิกธุดงค์จะรับผ้าจีวรจากมือทายกทายิกาไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่นนางเทพธิดาภรรยาในอดีตของพระอนุรุทธเถระผู้ถือเคร่งในธุดงค์ข้อนี้ ปรารถนาจะถวายผ้าทำจีวรแก่ท่าน ได้นำผ้าไปหมกไว้ที่กองขยะ พระอนุรุธเถระเดินหาผ้ามาพบเข้าจึงเก็บไปทำจีวรห่ม ปัจจุบันประเพณีดังกล่าวนี้รูปแบบมันเปลี่ยนไปผู้จะถวายที่จะนำผ้าไปหมกกองขยะหรือห่มศพไม่มี พระก็ไม่ต้องไปแสวงหาผ้าตามกองขยะ ตามป่าช้าหรือไปเก็บผ้าห่มศพ เพราะมีพิธีถวายผ้าอย่างนี้ ๒ รูปแบบ คือ การทอดผ้าป่าอย่างหนึ่ง การทอดผ้าบังสุกุลศพประการหนึ่ง ทั้งสองอย่างมีความมุ่งหมายที่ผิดไปจากเดิมมาก เช่นทอดผ้าป่า ผู้ทอดก็ไม่คิดว่าเอาผ้าไปทอดเพื่อมุ่งให้พระรักษาปังสุกูลิกธุดงค์ได้เอาไปใช้ แต่เป็นการทอดผ้าป่าเพื่อหาปัจจัย ผ้านั้นเป็นส่วนประกอบไม่สำคัญเท่าปัจจัย

    การทอดผ้าบังสุกุลศพ ก่อนที่จะเผาศพนั้น ประเพณีเดิมเข้าใจว่าเจ้าภาพปรารถนาจะทำบุญกับพระที่รักษธุดงค์ข้อนี้ จึงนำผ้าไปวางที่ศพทำทีเหมือนว่าเป็นผ้าที่ห่มศพแล้วทิ้งตามป่าช้า และเพื่ออุทิศบุญที่เกิดจากการถวายผ้าให้แก่ญาติผู้ล่วงลับอีกด้วย แต่ถ้าจะถามเจ้าภาพศพจริง ๆ  บางทีก็ตอบไม่ได้ที่ทำไปนั้นทำเพื่ออะไร นอกจากจะบอกว่าทำตามประเพณีหรือเห็นเขาทำก็ทำตามเขาไป พระที่รับนิมนต์ขึ้นพิจารณาบางทีก็ไม่รู้ว่าเดิมทีนั้นการทอดผ้าให้พระบังสุกุลแบบพระที่รักษาธุดงค์ข้อนี้ มันขัดแย้งกับการกระทำ มันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะพระที่ท่านรักษาธุดงค์ข้อนี้ท่านไม่รับนิมนต์ เพราะการรับนิมนต์ก็เป็นการผิดหลักปฏิบัติของธุดงคข้อนี้ ซ้ำรายหนักขึ้นไปกว่านั้น คำที่พระกล่าวในเวลาที่พิจารณาดูมันไม่ตรงกับวิธีปฏิบัติ มือหยิบผ้าแต่ปากว่าอนิจจา จึงมีคำพูดที่กล่าวว่าพิจารณาผ้าหรือพิจารณาศพกันแน่ ความจริงคำพิจารณาในขณะจับผ้านั้นดูออกจะไม่ตรงประเด็น ขอให้พิจารณาดูคำแปล
     "อนิจฺจา วต สงฺขารา
     สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
     อุปฺปาทวยธมฺมโน
     มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมเป็นธรรมดา
     อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ
     ครั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
     เตสํ วูปสโม สุโข
     การเข้าไปสงบแห่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้นเป็นสุข"

     ความหมายที่ออกมาอย่างนี้เป็นการพิจารณาศพแน่ แต่บางทีท่านอาจมีข้อแก้ว่าใช้ผ้าเป็นสือถึงศพ หรือกลัวผ้าจะสกปรกด้วยน้ำเหลืองศพก็เอาผ้าไปพาด ๆ ไว้ตามโลงศพหรือสายโยง แล้วใช้เป็นสื่อพิจารณาศพอีกทอดหนึ่งก็ได้ บางวัดเขาก็มีคำแนะนำแก่ผู้ที่จะทอดผ้าบังสุกุลให้ว่าก่อนทอดผ้าว่า "นามรูปํ อนิจฺจํ,นามรูปํ ทุกฺขํ,นามรูปํ อนตฺตา" ลึกซึ้งถึงไตรลักษณ์กันทีเดียว ความจริงคำที่พระกล่าวขณะพิจารณาผ้าว่า อินิจฺจา วต ฯเปฯ เตสํ วูป สมโม สุโข และคำพูดทอดผ้ากล่าวว่า นามรูปํ อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา น่าจะเป็นการส่งใจพิจารณาถึงซากศพในโลกหรือนอกโลง เหมือนอย่างเช่น พระมหากาลท่านพิจารณาศพหญิงขณะที่สัปเหร่อกำลังเผาอยู่ แล้วนำไปเป็นอารมณ์เจริญกรรมฐานจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ดังนั้น เพื่อให้วิธีปฏิบัติถูกต้องขอเสนอแนะวิธีปฏิบัติตามแนวความเห็นไว้บ้าง

     เมื่อผู้เป็นเจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุลที่ภูษาโยงหรือบริเวรหีบศพแล้ว ก่อนภิกษุจะพิจารณาผ้าควรยืนสงบจิตแล้วนึกภาวนาหรือว่าออกมาดัง ๆ  ก็ได้ว่า อนิจฺจา ฯเปฯ  พร้อมกับส่งใจไปถึงศพที่อยู่ในโลง  แต่นั้นจึงเอื้อมมือไปหยิบผ้าพร้อมกับกล่าวว่า "อิทํ วตฺถํ อสฺสามิกํ มยฺหํ ปาปุณาติ ผ้าผืนนี้หาเจ้าของมิได้ย่อมถึงแก่เข้าพเจ้า" 

     ปัจจุบันการทอดผ้าบังสุกุลศพนี้ ถือว่าเป็นกิจกรรมที่มีเกียรติเจ้าภาพนิยมเชิญแขกผู้มีเกียรติที่มาในงานศพขึ้นทอดผ้าบังสุกุล และพระที่จะขึ้นพิจารณาก็จักต้องเป็นพระระดับเถระมหาเถระผู้ทรงสมณศักดิ์ ส่วนท่านจะรักษาธุดงค์ข้อนี้หรือไม่รักษาไม่สำคัญ ถือว่าเป็นเกรียรติ

     มีเรื่องกล่วถึงผ้าบังสุกุลศพ ๒ แบบ เรียกว่า ผ้าบังสุกุลธรรมดาประการหนึ่ง ผ้ามหาบังสุกุล ประการหนึ่ง ผ้าบังสุกุลธรรมดา คือผ้าที่ทอดที่ศพแล้วพระไปพิจารณาชักมาอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนผ้ามหาบังสุกุลนั้นมีวิธีที่ทำกันอย่างพิเศษ คือเจ้าภาพผู้จะบำเพ็ญกุศลทอดผ้ามหาบังสุกุลนำศพไปไว้ที่ป่าช้า จัดศพให้นอนบนแผ่นกระดานแผ่นเดียวแบบกระดานหก นำผ้าไตรจีวรไปวางไว้ที่มือศพเวลาพิจารณาก็ต้องเที่ยงคืนไปแล้ว เมื่อผู้พิจารณาเดินไปถึงศพต้องขึ้นไปเหยียบที่แผ่นกระดานทางปลายเท้าศพ เมื่อเหยียบปลายกระดานแล้วแผ่นกระดานหกจะพาศพผงกศีรษะเข้าหาพระ ทำทีเหมือนยื่นจีวรถวายจากนั้นพระจะพิจารณาผ้า ป่าช้าสมัยก่อนนั้นมันเป็นป่าช้าจริง ๆ มีต้นไม้น้อยใหญ่มืดครึ้มไปหมด ยิ่งเป็นตอนเทียงคืนเดือนมืดดูน่ากลัวพิลึก กล่าวกันว่าพระผู้พิจารณาผ้ามหาบังสุกุลแบบนี้ จะต้องนิมนต์พระกรรมฐานที่มีสมาธิจิตที่แน่วแน่ เป็นพระผู้เฒ่า ผู้แก่อาคมขลัง สามารถสู้กับความหวาดกลัวได้ ปัจจุบันประเพณีอย่างนี้ ไม่มีแล้ว แต่คำเรียกพิจารณาผ้ามหาบังสุกุลยังมีใช้อยู่

     ภิกษุผู้จะถือธุดงค์ข้อนี้ ต้องกล่าวคำสมาทานออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
     ๑. คหปติทานจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ
        ข้าพเจ้างดจีวรที่คฤหบดีถวาย
     ๒. ปํสุกูลิกงฺคํ สมาทิยามิ
        ข้าพเจ้าสามาทานองค์ของภิกษุผู้ถือการใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

     ภิกษุที่รักษาธุดงค์นี้ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
     ๑. ประเภทที่ถือย่างเคร่งครัด ประเภทนี้จะแสวงหาผ้าเฉพาะในป่าช้าเท่านั้น เพื่อนำมาทำจีวร
     ๒. ประเภทที่ถือย่างปานกลาง สามารถนำผ้าที่เขาทิ้งไว้เพื่อพระที่ถือธุดงค์ข้อนี้มาทำจีวร
     ๓. ประเภทที่ถือย่างหย่อนยาน นำผ้าที่ผู้ถวายวางไว้ใกล้เท้ามาทำเป็นจีวรได้

     ธุดงค์ข้อนี้จะขาด ก็ต่อเมื่อภิกษุผู้รักษารับผ้าที่ผู้มีศรัทธาถวาย นำมาทำเป็นจีวรหรือรับตามความพอใจของตนเอง ดังนั้นภิกษุที่รักษาธุดงค์ข้อนี้ จึงรับผ้าที่ทายกทายิกาถวายไม่ได้

     ภิกษุที่รักษาธุดงค์ข้อนี้ จะได้รับอานิสงส์ถึง ๑๒ ประการ ดังนี้
      ๑. ได้ปฏิบัติสมควรต่อนิสัยข้อที่สองตามที่ปฏิญญาไว้ว่า "บรรพชาอาศัยผ้าบังสุกุลจีวร"
      ๒. ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะข้อที่หนึ่ง คือ การถือผ้าบังสุกุล
      ๓. ไม่ต้องห่วงใยที่จะรักษาผ้า
      ๔. ไม่ต้องพึ่งคนอื่นในเรื่องผ้า
      ๕. ปลอดจากโจรภัย
      ๖. ไม่มีความอยากในการใช้สอยผ้า
      ๗. มีสมณบริขารสมควรแก่ความเป็นพระ
      ๘. ความมีปัจจัยที่สมควรตามพระดำรัสว่า "มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ"
      ๙. เป็นพระน่าเลื่อมใส
     ๑๐. เพิ่มพูนสัมมาปฏิบัติ
     ๑๑. ธุตธรรมมีความมักน้อย สันโดษ เป็นต้น สำเร็จประโยชน์
     ๑๒. เป็นตัวอย่างที่ดีแก่พระในยุคหลัง

 ขอขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ค้นหาได้จาก google


๑. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์
๒. ฯเปฯ เท่ากับ ฯลฯ
๓. เดิมตามหนังสือ "ผู้เป็นเจ้าภาพที่จะทอดผ้าบังสุกุล ก่อนพิจารณาผ้าควรยืนสงบจิตแล้วนึกภาวนาหรือว่าออกมาดัง ๆ
ก็ได้ว่า อนิจฺจา ฯเปฯ พร้อมกับส่งใจไปถึงศพที่อยู่ในโลง จบแล้วจึงเอื้อมมือไปหยิบผ้าพร้อมกับกล่าวว่า
"อิทํ วตฺถํ อสฺสามิกํ มยฺหํ ปาปุณาติ ผ้าผื่นนี้หาเจ้าของมิได้ถึงแก่ข้าพเจ้า""
(ข้าพเจ้า ผู้พิมพ์ (เว็บมาสเตอร์)) เห็นว่าอ่านแล้วจะทำให้สับสนว่า ควรเป็นพระหรือโยมที่กล่าวคำนี้ ดังนั้นจึงได้ แก้ไขพอให้เขาใจ




สกลธรรม

วันอาสาฬหบูชา วันที่ 11/08/2012   11:11:40 article
มารดาบิดาเปรียบดังพรหมของบุตรทั้งหลาย วันที่ 18/08/2012   20:35:40 article
ความรู้เรื่องธุดงค์ วันที่ 05/04/2012   13:37:09



Copyright © 2011-2024 watsaladaeng.com ® all rights reserved. | ติดตอบสอบถาม โทร. 0987595992 ผู้ดูแลเว็บไซต์