ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ประวัติวัดศาลาแดง
dot
bulletประวัติวัดศาลาแดง
bulletสังฆสถานที่สำคัญ
dot
ประวัติเจ้าอาวาส
dot
bulletพระพิพัฒน์วิริยาภรณ์
bulletพระครูสุนทรพิพัฒนโกศล (เดิม)
bulletพระครูวิหารกิจจารักษ์
bulletพระอธิการขำ
bulletพระอธิการลม
bulletพระอธิการเหมือน
dot
ประวัติอุโบสถหลังใหม่
dot
bulletประวัติอุโบสถหลังใหม่
bulletแกเลอลี่ ภาพสำคัญ
dot
ประวัติอุโบสถหลังเก่า
dot
bulletประวัติอุโบสถหลังเก่า
dot
สถานที่สำคัญภายในวัด
dot
bulletรอยพระพุทธบาทจำลอง
bulletหอสวดมนต์,หอฉัน
bulletศาลาการเปรียญ
bulletศาลาบูชาพระประจำวัน
bulletศาลาบูรพาจารย์
bulletโรงเรียนพระปริยัติธรรม
bulletวังมัจฉา
dot
ประมวลภาพกิจกรรม
dot
bulletกิจกรรมวันอาสาฬหบูชา
bulletกิจกรรมอบรมธรรมศึกษา
bulletงานปฏิบัติธรรมบวชชีพราหมณ์
bulletกิจกรรมเวียนเทียนรอบอุโบสถวันอาสาฬหบูชา๕๔
dot
ประมวลภาพเหตุการณ์สำคัญ
dot
bulletพระพุทธชนราช ใต้ร่มเศวตฉัตร
bulletการสวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖
bulletการสวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๕
bulletภาพวีดีโอน้ำท่วมวัด ปี 54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 27/10/54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 29/10/54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 30/10/54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 31/10/54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 01/11/54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 02/11/54
bulletเหตุการณ์น้ำท่วม 03/11/54
bulletเหตุการณ์เมื่อ 6/6/2552


ความรู้เรื่องธุดงค์
วันที่ 05/04/2012   13:37:09

 ความรู้เรื่องธุดงค์


     ธุดงค์ เป็นข้อปฏิบัติเพื่อสกัด ลด ละ กิเลส และเพื่อเป็นอุบายช่วยในการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อยอันเป็นพื้นฐานที่จะรับรองการเจริญสมาธิและปัญญา หรือสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

     แต่ในปัจจุบันความรู้อย่างกระจ่างชัดในเรื่องของธุดงค์ ทั้งในภาคทฤฎีและภาคปฏิบัตินั้นมีน้อย ทั้งฝ่ายพระภิกษุผู้คิดจะปฏิบัติธุดงค์ และฝ่ายฆราวาสผู้เลื่อมใสในพระผู้ปฏิบัติธุดงค์ โดยมากมักเข้าใจในการถือธุดงค์คลาดเคลื่อนไปจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ ขอยกตัวอย่างความคลาดเคลื่อนในความเจ้าใจเรื่องธุดงค์เช่น
     - พระที่จะปฏิบัติธุดงค์ ต้องมีกลด ต้องนอนในกลด
     - พระที่จะปฏิบัติธุดงค์ ต้องเป็นพระป่า พระบ้านปฏิบัติธุดงค์ไม่ได้

     ความเข้าใจอย่างนี้ทำให้เกิดการปฏิบัติที่ผิด เกิดการดูถูกดูหมิ่นตัวเอง ทำให้ผู้เลื่อมใสเกิดความเข้าใจผิด ขอกล่าวแก้ในที่นี้ไปพลางๆ ก่อน เพื่อเป็นการจูงให้เข้าหาการศึกษาเรื่องธุดงค์ที่เป็นหลักจริง เช่น การเข้าใจที่ว่าพระที่จะปฏิบัติธุดงค์ต้องมีกลด ต้องนอนในกลด ไม่จริงเสมอไป เพราะธุดงค์ที่ทรงอนุญาตให้พระมีกลดนั้นมีอยู่เพียงข้อเดียวคือ อัพโภกาสิกธุดงค์ ธุดงค์ของผู้ถือการอยู่ในที่กลางแจ้ง เพราะธุดงค์ข้อนี้ต้องอยู่กลางแจ้ง ทรงอนุญาตกลดไว้แก่พระที่ถือธุดงค์ข้อนี้ ก็เพื่อกันน้ำค้าง ลม แดด ร้อน หนาว ยุง เหลือบ ริ้น ฯลฯ ในสถานะเช่นนี้กลดจึงมีฐานะเท่ากับมุ้ง อย่าได้เข้าใจเป็นอย่างอื่น บางท่านบอกโยมว่าอาตมาถือธุดงค์เคร่งนัก แม้จำวัตรอยู่ในกุฎิก็ยังจำวัดในกลดเลย การพูดเช่นนั้นเป็นการโกหกหลอกลวง หรือไม่ก็เกิดขึ้นเพราะท่านเข้าใจผิดเอง

     อีกอย่างหนึ่ง ความเข้าใจที่ว่าพระที่ถือธุดงค์ต้องอยู่ป่า ข้อนี้ก็ผิด เพราะธุดงค์ที่ทรงอนุญาตเกี่ยวกับเรื่องป่าเห็นมีอยู่ ๒ ข้อคืออารัญญิกธุดงค์ และ โสสานิกธุดงค์ เท่านั้น และป่าที่จะถือได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติในธุดงค์นี้ต้องอยู่ไกลจากหมู่บ้านประมาณ ๕๐๐ ชั่วธนู คงไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ วา หรือ ๒๕ เส้น ก็หรือว่า ๑ กิโลเมตร วัดป่าที่ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านภายใน ๕๐๐ ชั่วธนูก็ไม่ใช่วัดป่า คงเป็นวัดบ้านธรรมดา ๆ นี้แหละ ต่างแต่ว่าท่านปลูกต้นไม้กันมาก ๆ ทำให้วัดน่ารื่นรมย์ เป็นการสร้างบรรยากาศภายในวัดให้เป็นวัดที่มีความสงบร่มเย็น ปัจจุบันถือว่าเป็นการสงสริมการปลูกป่าและรักษาป่าด้วย

     ความจริง การปฏิบัติธุดงค์นั้นจะอยู่ในวัดป่าหรือวัดบ้านก็ปฏิบัติได้ สุดแต่ว่าผู้ปฏิบัติจะปฏิบัติธุดงค์ข้อไหน เพราะธุดงค์นั้นมีทั้งหมด ๑๓ ข้อ จะปฏิบัติธุดงค์ข้อไหนก็ดูให้เหมาะกับจริตอัธยาศัยของตน ข้อสำคัญต้องศึกษาให้รู้ถึงหลักการ วิธีการ ปฏิบัติการ และวัตถุประสงค์รวมถึงอานิสงส์ด้วย เมื่อศึกษาได้อย่างนี้การลงมือปฏิบัติธุดงค์จะไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ ฉะนั้นต่อไปนี้จึงขอเสนอ "ความรู้เรื่องธุดงค์" เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาและการปฏิบัติที่ถูกที่ควร

     ประการแรกที่ผู้ปฏิบัติธุดงค์จะต้องศึกษา คือความหมายของคำว่าธุดงค์, คำว่าธุดงค์ มีความหมาย ๒ ประการ คือ
     ๑. องค์ของภิกษุผู้กำจัดกิเลส
     ๒. ญาณเครื่องกำจัดกิเลส

     จากความหมายของศัพท์นี้ จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติธุดงค์เพื่อลดละกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจเช่น ความมักมาก ความไม่สันโดษ ความโอ้อวด ความถือตัว มัวเมาอยู่ด้วยยศ ลาภ ชื่อเสียง บริวาร

     ใครก็ตามที่กล่าวว่าตนเองปฏิบัติธุดงค์ แต่ยังไม่ลดละกิเลสยังมีความมักมาก ไม่สันโดษ ชอบโอ้อวด ดูถูกดูหมิ่นท่านอื่น ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธุดงค์ แต่ได้ชื่อว่าเป็นผู้หลอกลวงโลกด้วยข้อปฏิบัติทางศาสนา

     ประการต่อมา ผู้ปฏิบัติธุดงค์ ต้องรู้ว่าจะปฏิบัติธุดงค์ไปพื่ออะไร เพราะกล่าวโดยทั่วไป การปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะปฏิบัติธุดงค์ที่จะกล่าวนี้ หรือข้อปฏิบัติอื่นๆ ใด จะแบ่งผู้ปฏิบัติออกเป็น ๕ ประเภท ขอยกการถือธุดงค์เป็นตัวอย่างดังนี้
     - พวกหนึ่ง ถือธุดงค์เพราะโง่ เซอะซะ คือ ไม่รู้เรื่องรูราว เห็นเขาถือก็ถือไปตามเขา
     - พวกหนึ่ง ถือธุดงค์เพราะมีความปรารถนาชั่ว คือ ยากได้ชื่อเสียง อยากได้คำสรรเสริญ ได้บริษัทบริวารเป็นต้น
     - พวกหนึ่ง ถือธุดงค์เพราะจิตฟุ้งซ่าน
     - พวกหนึ่ง ถือธุดงค์พระเห็นว่าการถือธุดงค์นั้น พระพุทธเจ้าและท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญ
     - พวกหนึ่ง ถือธุดงค์เพราะมุ่งความมักน้อย สันโดษ ปรารถนาความสงบวิเวก ฝึกหัดขัดเกลากิเลสของตน

     เพื่อให้การปฏิบัติธุดงค์เป็นไปโดยถูกต้องตามพุทธประสงค์ผู้ปฏิบัติต้องเรียนรู้ธรรมที่เป็นบริวานของธุดงค์ ๕ ประการ หมายความว่าผู้ปฏิบัติต้องมีธรรม ๕ ประการนี้ คือ
     ๑. อัปปิจฉตา ความมักน้อย
     ๒. สันตุฎฐิตา ความสันโดษ ยินดีปัจจัยตามมีตามได้
     ๓. สัลเลขตา ความฝึกหัดขัดเกลากิเลส
     ๔. ปวิเวกตา ความปรารถนาความวิเวก
     ๕. ตทัตถิตา ความรู้ว่าการปฏิบัติธุดงค์นี้ ก็เพื่อธรรมนั้น

     ธรรม ๕ ประการนี้เป็นเหมือนทหารคนสนิท ธรรมของผู้ปฏิบัติธุดงค์ จะคอยเตือนสติให้รู้ว่าผู้ปฏิบัติธุงค์ต้องทรงภูมิธรรมอย่างนี้ ถ้าถือธุดงค์แล้วยังมีพฤติกรรมที่ปฏิบัติตรงกันข้ามกับธรรม ๕ ประการนั้น เช่นยังมักมาก ไม่สันโดษ ไม่ฝึกหัดขัดเกลากิเลส ไม่ปลีกตน ยังคลุกคลีกับหมู่คณะ ไปไหนมาไหนมีบริษัทบริวารติดตามห้อมล้อม และไม่รู้ด้วยว่าจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติธุดงค์เพื่ออะไรน่าอันตราย จะกลายเป็นไปในทำนองธุดงค์หาลาภ บริวาร ยศ ชื่อเสียง เกียรติคุณไป




สกลธรรม

วันอาสาฬหบูชา วันที่ 11/08/2012   11:11:40 article
มารดาบิดาเปรียบดังพรหมของบุตรทั้งหลาย วันที่ 18/08/2012   20:35:40 article
ปังสุกูลิกธุดงค์ วันที่ 05/04/2012   20:27:06



Copyright © 2011-2024 watsaladaeng.com ® all rights reserved. | ติดตอบสอบถาม โทร. 0987595992 ผู้ดูแลเว็บไซต์